ต่อ พรบ รถยนต์ ออนไลน์

หากใครมีคำถาม ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ซื้อที่ไหนได้บ้าง ความคุ้มครองเบิกค่ารักษาพยาบาลอะไรได้บ้าง ต้องเตรียมหรือใช้เอกสารอะไรบ้าง วิธีต่อเป็นอย่างไร ราคาเท่าไหร่ ทางเราได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ มาให้ได้อ่านกันในบทความนี้แล้วครับ

Table of Contents

พ.ร.บ. ของรถยนต์คืออะไร

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการกำหนดไว้ว่า เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ครอบครองรถทุกท่านจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถในทุก ๆ ปี โดยใจความสำคัญของประกันภาคบังคับ พ.ร.บ. นี้ เป็นการให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

พ.ร.บ. รถยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง

ในส่วนของประกันภาคบังคับนี้ ความคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไหม หากเกิดเหตุกรณีเสียชีวิต มีคู่กรณี จะคุ้มครองหรือไม่ รวมไปถึงจะมีความคุ้มครองคู่กรณีไหม โดยหลัก ๆ แล้วความคุ้มครองจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

คุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งความคุ้มครองจะชดเชยให้โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • กรณีบาดเจ็บ : ผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือเกิดการทุพพลภาพถาวร : หากผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือเกิดทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะทำการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท/คน
    • กรณีเสียชีวิต : ทายาทของผู้ประสบเหตุจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพเป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท/คน

ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

หากมีการพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบเหตุเป็นฝ่ายถูก ทางบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามรายละเอียดดังนี้

    • กรณีเกิดการบาดเจ็บ : ผู้ประสบเหตุจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงิน 80,000 บาท/คน
    • กรณีเกิดการเสียชีวิต : ทายาทของผู้ประสบเหตุจะได้รับการชดเชยเป็นค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
    • กรณีเกิดการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร : ผู้ประสบเหตุจะได้รับค่าทดแทนเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000-500,000 บาท/คน ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดที่เกิดการสูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้
    • กรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ภายในสถานพยาบาล : ผู้ประสบเหตุจะได้รับเป็นค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท โดยคิดให้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 20 วัน

ต่อ พ.ร.บ. ของรถยนต์ราคาเท่าไหร่

ในส่วนของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไหร่นั้น จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของรถ ดังนี้

1. ประเภทรถยนต์โดยสาร

    • รถยนต์เก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าต่อประมาณ 600 บาท/ปี
    • รถตู้จำนวน 7-15 ที่นั่ง ค่าต่อประมาณ 1,100 บาท/ปี
    • รถโดยสาร 15-20 ที่นั่ง ค่าต่อประมาณ 2,050 บาท/ปี
    • รถโดยสาร 20-40 ที่นั่ง ค่าต่อประมาณ 3,200 บาท/ปี

2. ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก

    • รถกระบะน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ค่าต่อประมาณ 900 บาท/ปี
    • รถบรรทุกน้ำหนัก 3-6 ตัน ค่าต่อประมาณ 1,220 บาท/ปี
    • รถบรรทุกน้ำหนัก 6-12 ตัน ค่าต่อประมาณ 1,310 บาท/ปี

3. ประเภทรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

    • รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 161.57 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 75-125 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 323.14 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 125-150 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 430.14 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 150 ซี.ซี.ขึ้นไป ค่าต่อประมาณ 645.21 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ค่าต่อประมาณ 323.14 บาท/ปี

4. ประเภทรถจักรยานยนต์รับจ้าง/ให้เช่า

    • รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 161.57 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 75-125 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 376.64 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 125-150 ซี.ซี. ค่าต่อประมาณ 430.14 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ 150 ซี.ซี.ขึ้นไป ค่าต่อประมาณ 645.21 บาท/ปี
    • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ค่าต่อประมาณ 323.14 บาท/ปี

5. รถประเภทอื่น ๆ

    • รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง ค่าต่อประมาณ 2,370 บาท
    • รถพ่วง ค่าต่อประมาณ 600 บาท
    • รถยนต์ใช้ในการเกษตร ค่าต่อประมาณ 90 บาท

หมดอายุ ขาดได้กี่วัน ถูกปรับเท่าไหร่

สำหรับวิธีการตรวจสอบเช็ค พ.ร.บ. ของรถยนต์ ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงทำการตรวจสอบวันหมดอายุผ่านหน้าเอกสารกรมธรรม์ประกัน พ.ร.บ. ซึ่งภายในเอกสารดังกล่าว จะมีการระบุวันที่หมดอายุไว้ให้ทราบอย่างชัดเจน

หากเกิดเหตุไม่คาดคิด ลืมต่อ พ.ร.บ. ของรถยนต์ ขาดได้กี่วัน 1 เดือนจะเป็นไรไหม ถ้าขาดปรับเท่าไหร่

  • กรณี พรบ ของรถยนต์ขาดไม่เกิน 1 ปี สามารถทำการยื่นเรื่องขอต่อได้ทันทีโดยไม่เสียค่าปรับ แต่จะโดนปรับในส่วนของค่าภาษีรถยนต์แทน
  • กรณี พรบ ของรถยนต์ขาดเกิน 2 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถคันนั้นเข้าตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบก พร้อมกับเดินเรื่องต่อทะเบียนรถใหม่ เสียค่าปรับและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
  • กรณี พรบ ของรถยนต์ขาดเกิน 3 ปีขึ้นไป รถอาจโดนระงับป้ายทะเบียนและจำเป็นต้องยื่นเรื่องเพื่อขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมทั้งเสียค่าปรับ และอาจมีการเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลังด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้แล้ว หลายคนมักมีคำถาม หากระหว่างที่ใช้รถเกิดโดนเจ้าหน้าที่ตรวจเรียกแล้วพบว่า พ.ร.บ รถยนต์ หากขาด ปรับเท่าไหร่ สำหรับโทษปรับที่จะโดนในส่วนนี้ จะถูกปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท แต่จะส่งผลทำให้ต่อภาษีไม่ได้ไปด้วย และถ้าหากมีการตรวจสอบเพิ่มเติมแล้วพบอีกว่า ภาษีรถยนต์ขาดด้วยเช่นกัน ก็จะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ในส่วนการดำเนินเรื่องเพื่อยื่นขอต่อ พ.ร.บ. ของรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้างนั้น มีเอกสารสำคัญ ๆ ที่ต้องเตรียมดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
  • เล่มทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
  • เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีที่รถมีอายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
  • ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีที่รถมีการติดแก๊สเท่านั้น)

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ซื้อที่ไหนได้บ้าง

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ซื้อที่ไหนได้บ้างนั้น สามารถทำการซื้อได้ที่ TIPINSURE เพราะเราให้บริการดี ราคาโดนใจโดยเริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น ไม่ว่าจะซื้อหรือต่อก็ทำได้ไม่ยุ่งยากเลย โดยมีขั้นตอนวิธีต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ดังนี้

  1. คลิ๊กเข้าเว็บไซต์ TIPINSURE
  2. เลือกแผนประกันรถยนต์ พ.ร.บ.และกรอกรายละเอียดรถยนต์ให้ครบถ้วน
  3. ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อย ทำการกดปุ่ม “บันทึกและชำระเงิน” โดยสามารถทำรายการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนดไว้

โดยหลังจากทำรายการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถรอรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมลได้ทันที

PROMOTIONS

โปรโมชั่นพฤศจิกายน-1-1
โปรโมชั่นพฤศจิกายน-2-1
โปรโมชั่นพฤศจิกายน-3-1
โปรโมชั่นพฤศจิกายน-4-1
โปรโมชั่นพฤศจิกายน-1-2
Test Drive นัดทดลองขับ

กรอกรายละเอียดข้อมูลเพื่อขอนัดทดลองขับรถยนต์ได้ที่นี่

Quootation ขอใบเสนอราคา

กรอกรายละเอียดข้อมูลเพื่อขอใบเสนอราคารถยนต์ได้ที่นี่

เครดิต: changan-cars-auto.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า